ม.ทักษิณ มุ่งอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืชเศรษฐกิจ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง

ม.ทักษิณ มุ่งอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืชเศรษฐกิจ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง

21 มี.ค. 66 1137

วันอังคาร ที่ 21 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรม : การอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืชเศรษฐกิจ และศูนย์เรียนรู้การผลิตมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง พร้อมร่วมปลูกพันธุ์ไม้ดอกดาหลา ณ แปลงสาธิตการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน  มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

     สำหรับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  กิจกรรม : การอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ และศูนย์เรียนรู้การผลิตมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง  มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานรักษาและต่อยอดการพัฒนามะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ด้วยเทคโนโลยี DNA และการพัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกดาหลา และส้มจุกให้เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้สำหรับอนุรักษ์พันธุ์พืชของจังหวัดพัทลุง ผ่านศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน เป็นผู้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีกิจกรรมประกอบด้วย

1. การบรรยายทางวิชาการ “การปลูกมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี DNA” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศิวเรศ  อารีกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. การปลูกมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ จำนวน 350 ต้น ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ต้นพันธุ์จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ธนาคารพันธุกรรมมะพร้าว KU-BEDO Coconut BioBank  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. การปลูกดาหลา จำนวน 20 ต้น
4. การปลูกส้มจุก จำนวน 50 ต้น

     กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้บริหารของหน่วยงานระดับจังหวัด เกษตรอำเภอ เกษตรกร คณาจารย์นิสิต และผู้สนใจ ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน