การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 32

การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 32

25 มี.ค. 65 2094
     25 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 32 ประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อ : “นวัตกรรมสังคมยุคหลังโควิด Next Normal” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ชำนิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ผ่านระบบการประชุมทางไกลโปรแกรม Webex Event
     รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวว่า การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 32 ประจำปี พ.ศ. 2565 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ : นวัตกรรมสังคมยุค Next Normal ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยทักษิณ โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา และบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) /สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) /สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) /กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ / บริษัท แอบโซเทค จำกัด / บริษัท อนาไลติค เยน่า ฟาร์อีสต์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ไรทส์ อินสตรูเมนส์ จำกัด เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการให้กับนักวิจัย นิสิต นักศึกษาทั้งภายในและภายนอก ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการวิจัยและนวัตกรรมร่วมกัน มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำนวัตกรรมจากผลงานวิจัยไปบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

     โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การนำเสนอผลงานวิจัยทั้งสิ้น 290 บทความ แบ่งเป็น ภาคบรรยาย (Oral presentation) จำนวน 140 ผลงาน ภาคโปสเตอร์ (Poster presentation) จำนวน 150 ผลงาน การนำเสนอผลงานนวัตกรรมเด่น มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 16 ผลงาน การนำเสนอผลงานเด่นระดับบัณฑิตศึกษา (Grad-Showcase) จำนวน 10 ผลงานเด่น และการบรรยายพิเศษทางวิชาการ (Keynote lecture) โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง (ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บรรยายพิเศษเรื่อง “นวัตกรรมสังคมสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก” ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช (คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) บรรยายพิเศษเรื่อง “การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์” คุณสุดาพร กองสุวรรณ (Product specialist and the head of sum parameters and Elemental analysis SEAP บริษัท อนาไลติค เยน่า ฟาร์อีสต์ (ประเทศไทย) จำกัด)บรรยายพิเศษหัวข้อ “Innovative work flow for TOC analysis in environment and Cl in palm oil” Mr. Dat Thanh Chau (คุณแด๊ด ธาน เชาว์) (Sale Account Manager SEA Region for XMP บริษัท แอบโซเทค จำกัด) บรรยายพิเศษ หัวข้อ “New era of the mineral transportation research in agriculture application by Micro XRF technology” และนายภเชค จารุมนต์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ บรรยายพิเศษ หัวข้อ "ทิศทางนวัตกรรมจากผลงานวิจัยไทยสู่การใช้ประโยชน์ระดับโลก"

     ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (COVID-19) การประชุมวิชาการระดับชาติฯ จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอผลงานแบบ online สำหรับผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน จะได้รับของที่ระลึกกระเป๋าผ้า และหน้ากากผ้า ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายจากท่าร่ายรำและส่วนประกอบเครื่องแต่งกายต่างๆ ของโนราห์ โดยอาจารย์อัฏฐพล เทพยา จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ และยังเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยทักษิณอีกด้วย