คณะทำงานวิจัย "ปลาสามน้ำ" ม.ทักษิณ นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยชุมชนนวัตกรรม ระยะ 9 เดือน

คณะทำงานวิจัย "ปลาสามน้ำ" ม.ทักษิณ นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยชุมชนนวัตกรรม ระยะ 9 เดือน

1 พ.ค. 65 997
     คณะทำงานวิจัย “ปลา 3 น้ำ” ม.ทักษิณ นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยชุมชนนวัตกรรม ระยะ 9 เดือน (Site visit) ภายใต้โครงการวิจัยการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาสามน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 
     เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ จัดโครงการการติดตามโครงการวิจัยชุมชนนวัตกรรมระยะ 9 เดือน (Site visit) “การอนุรักษ์สู่การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างสมดุลแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” ภายใต้โครงการวิจัยการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาสามน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ตําบลเกาะยอ อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา กล่าวต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเปิดงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ซึ่งแนะนําภาพรวมโครงการ “การจัดการเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาสามน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร จันทโชติ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในฐานะหัวหน้าโครงการชุด โดยได้รายงานความก้าวหน้าภาพรวมของโครงการ ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร จันทโชติ กล่าวว่า โครงการวิจัยการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาสามน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา เป็นโครงการใหญ่ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โครงการดังกล่าวได้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในส่วนต้นน้ำ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการอนุรักษ์และการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติปลาสามน้ำ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาจํานวนปลาจากธรรมชาติในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาที่มีปริมาณลดลง และการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเพาะเลี้ยง ส่วนกลางน้ำ สําหรับตําบล/ชุมชนที่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาสามน้ำ จะมุ่งเน้นการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปลาสามน้ำ สําหรับส่วนปลายน้ำ มีการพัฒนากลยุทธ์ ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมและยกระดับศักยภาพธุรกิจของชุมชนผู้ผลิตสินค้าปลาสามน้ำ โดยรูปแบบกระบวนการบูรณาการร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่เพื่อการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืนต่อไป
     สำหรับการรายงานความก้าวหน้าของโครงการในรอบ 9 เดือน หัวหน้าโครงการย่อย ๆ 5 โครงการได้รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยย่อย ประกอบด้วย “นวัตกรรมการอนุรักษ์ปลาสามน้ำสู่ความยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เตือนตา ร่าหมาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อาจารย์เอกราช สุวรรณรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงสู่นโยบายสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการอนุรักษ์พันธุ์ปลาในทะเลสาบสงขลา
     ติดตามด้วยการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยย่อย “การยกระดับและเพิ่มมูลค่าปลาสามน้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิไลลักษณ์ กล่อมพงษ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมคณะวิจัยและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ ถนนแก้ว คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ กรรมวิธีการแปรรูปปลาสามน้ำในชุมชนรอบลุ่มทะเลสาบ นวัตกรรมกระบวนการแปร รูปปลาสามน้ำตามหลัก GMP
การจัดการตลาดปลาสามน้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” โดย อาจารย์จิราพร คงรอด คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
     นอกจากนี้ ยังมีการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากนวัตกรชุมชน และเครือข่ายวิจัย ในแต่ละโครงการย่อย ภายหลังรายงานสรุปผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน จากคณะกรรมการโครงการ ได้มีการเยี่ยมชมการจัดแสดงผลงานของโครงการฯ และการรับฟังข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิ ปิดท้ายด้วยการลงพื้นที่บ้านปลาหมายเลข 9 ตําบลบ้านใหม่ อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จัดกิจกรรม “การอนุรักษ์ พิทักษ์ ทรัพยากร ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” ชมกิจกรรมการทําบ้านปลา ณ บ้านปลาหมายเลข 9 การสาธิตการผลิตอาหารปลาแบบง่าย รับฟังข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ สรุปภาพรวมของโครงการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ