ทีมวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังเครือข่ายกลุ่มจังหวัดภาคใต้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ปี 2565

ทีมวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังเครือข่ายกลุ่มจังหวัดภาคใต้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ปี 2565

25 มิ.ย. 65 883
     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ โดย รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานเปิด กิจกรรมสัมมนา “แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กลุ่มจังหวัดภาคใต้พัทลุง ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส” ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2565 ณ ศรีปากประรีสอร์ท ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการขยายผลการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ เบ็ดเสร็จและแม่นยำ มหาวิทยาลัยทักษิณ  
     รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ หัวหน้าโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน อย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดพัทลุง ได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ และกล่าวถึงวัตถุประสงค์การประชุมในครั้งนี้ว่า เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลในการค้นหา สอบทานกลุ่มเป้าหมาย ครัวเรือนยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยการมีส่วนร่วมของกลไก ภาคี ที่มีภารกิจ และบทบาทเกี่ยวข้องใน ระดับพื้นที่ โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุน และพัฒนาระบบส่งต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน สู่ระบบสวัสดิการภาครัฐ รวมถึงการ พัฒนาโครงการตัวแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ (Pilot Project) โดยจะส่งเสริมการนำระบบโค้ช และระบบติดตามประเมินผลเพื่อสนับสนุนสถาบันวิชาการที่ดำเนินการในระดับพื้นที่ และสังเคราะห์ความรู้ จากการทำงานเชิงพื้นที่และพัฒนาข้อเสนอโครงการบริหารจัดการ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย โดยมีพื้นที่ เป้าหมาย 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดลำปาง พิษณุโลก พัทลุง ยะลา นราธิวาส นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และจังหวัดเลย
     สำหรับการดำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำปีที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบ ใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1. ระบบค้นหาและสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ 2. ระบบวิเคราะห์ปัญหาและฐานทุนครัวเรือน ยากจน (PPPConnext) 3. ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ และ 4. โมเดลแก้จน ซึ่งมีจุดเด่นที่แตกต่างตามสภาพ บริบทและเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการจัดการประชุมนักวิจัยพื้นที่ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะให้สนับสนุนให้นักวิจัยได้มาแลกเปลี่ยนและเติมเต็มประสบการณ์การดำเนินโครงการร่วมกัน รวมทั้งได้รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษาโครงการต่อการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา ตลอดจนทิศ ทางการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในปีถัดไป อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อนักวิจัยพื้นที่ในการนำไปพัฒนา ยกระดับการดำเนินโครงการวิจัยให้บรรลุตามเป้าหมายร่วมกัน สำหรับการประชุมเสวนาในครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมาย มีผู้ทรงคุณวุฒิ และที่ปรึกษา ของ บพท. ผู้แทนจาก ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยพื้นที่จากมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากเวทีสัมมนาในครั้งนี้ จะทำให้เกิดชุดประสบการณ์การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ รวมทั้ง ข้อมูลผลการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะการทำงานแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งนักวิจัยพื้นที่ได้แนวทางและทิศทางการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและ แม่นยำ ปี2565 และสามารถนำไปพัฒนายกระดับการทำงานในระดับพื้นที่ต่อไป