ม.ทักษิณ ปรับกระบวนทัศน์เปลี่ยนความสูญเปล่าสู่ความสำเร็จด้วยแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) : 10 Quick Wins in Lean for TSU

ม.ทักษิณ ปรับกระบวนทัศน์เปลี่ยนความสูญเปล่าสู่ความสำเร็จด้วยแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) : 10 Quick Wins in Lean for TSU

24 ก.พ. 66 659

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ฝ่ายบริหารกลางและทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดโครงการบรรยาย สาธารณะ ครั้งที่ 3 “เปลี่ยนความสูญเปล่าสู่ความสำเร็จด้วยแนวคิดแบบลีน (Lean  Thinking) : 10 Quick Wins in Lean for TSU”

     โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมสานพลัง พร้อมขับเคลื่อนไปสู่ “ยุทธศาสตร์และหมุดหมาย” ของ มหาวิทยาลัยทักษิณ และเพื่อมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรเพื่อร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์แบบมุ่งเป้าหมาย  ไปเป็น “The University of Glocalization” ซึ่งได้รับเกียรติบรรยายพิเศษจาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ รองศาสตราจารย์ ดร. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ มีบุคลากรทั้งวิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุงเข้าร่วมโครงการ จำนวน 340 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566  ณ ห้องประชุมแสงสุริยา อาคารปฏิบัติการวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ  วิทยาเขตสงขลา และห้องประชุม MF1200 อาคารเรียนรวม  มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

     สำหรับมาตรการ 9 Quick win and 2 Campaign in LEAN for TSU ประกอบด้วย ลดขั้นตอนกระบวนงานของระบบ ลดการใช้วัสดุสำนักงาน การมอบของที่ระลึก การใช้วัสดุ เน้นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ/อบรม/สัมมนาในสถานที่มหาวิทยาลัย การงดแจกเอกสารและวัสดุสำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการ/อบรมสัมมนา การใช้ระบบการจัดการประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ห้องประชุม   
2 CAMPAIGN ได้แก่ การให้บริการน้ำดื่มและหลีกเลี่ยงการบริการอาหาร  และการขจัด Visual Plooution /Eyesore หรือ มลภาวะทัศนียภาพ

     การอบรมในครั้งนี้จะตอบโจทย์ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงใหม่ในบริบทสังคม ทยานยกระดับสู่เมืองแห่ง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสังคมดิจิทัล (Digital Transformation) การสร้างโอกาสและ ความท้าทายจึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายไปสู่การพัฒนาประเทศรวมถึงเพิ่มบทบาทกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายสู่อนาคต บุคลากรของ มหาวิทยาลัยจึงต้องปรับตัวแบบพลิกโฉม สานพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และหมุดหมายใหม่เพื่อ ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย ขับเคลื่อนจากพื้นที่ปลอดภัยสู่พื้นที่การเติบโตอย่าง สร้างสรรค์ “มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศ ภายในปี 2567” พลิกโฉมมหาวิทยาลัยทักษิณให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีสมรรถนะสูง เป็นมหาวิทยาลัยใน แบบฉบับ “The University of Glocalization” ที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรมสังคม เป็นแถวหน้าของกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม