คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ม.ทักษิณ เปิดตัวอาคารเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ลดปัญหาขยะปนเปื้อน ร่วมสร้างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ม.ทักษิณ เปิดตัวอาคารเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ลดปัญหาขยะปนเปื้อน ร่วมสร้างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

2 ก.ค. 67 338

คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ม.ทักษิณ เปิดตัวอาคารเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ลดปัญหาขยะปนเปื้อน ร่วมสร้างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ได้รับมอบหมายจากสำนักงานวิทยาเขต พัทลุง ให้รับผิดชอบดูแลรักษาอาคารเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการ บริเวณกลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ให้เกิดประโยชน์ในการใช้งาน ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ภายในอาคาร อุปกรณ์ควบคุมรักษาความปลอดภัย  และพร้อมให้บริการแก่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย สำหรับการส่งของเสียจากห้องปฏิบัติการมาจัดเก็บเพื่อส่งกำจัดต่อไป  ทั้งนี้ได้จัดกิจกรรมเปิดอาคารเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567  กลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพมาศ ปักเข็ม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมด้วยทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ฯ ร่วมให้การต้อนรับ ผศ.ดร.ธัญญา พันธ์ฤทธิ์ดำ รองอธิการบดีวิทยาเขตพัทลุง ในโอกาสเป็นประธานเปิดอาคารของเสียจากห้องปฏิบัติการ     

     

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ รศ.ดร.ศรชัย อินทะไชย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ได้ชี้แจงขั้นตอน ระเบียบ ข้อปฏิบัติ ในการส่งของเสียเพื่อส่งจัดเก็บที่อาคารเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการ  พร้อมทั้งบรรยายในหัวข้อ : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มุ่งเน้นขับเคลื่อน 3 เป้าหมายหลัก คือ
    - เป้าหมาย 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน   
    -  เป้าหมาย  13 ปฎิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
    - เป้าหมาย 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดย รศ.ดร.ศรชัย อินทะไชย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ ผศ.อานุช คีรีรัฐนิคม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและการประกอบการ ร่วมกันให้ข้อมูล เพื่อสร้างความเข้าใจร่วม และมีแนวปฏิบัติในทิศทางเดียวกันสำหรับผู้ใช้งาน และส่วนใหญ่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับเศษเหลือใช้ของสารเคมี  ขวดและบรรจุภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนของเสียจากสารเคมี ทั้งที่มีอันตรายและไม่มีอันตราย จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมและการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการสร้างอาคารเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ จึงมีความสำคัญและมีส่วนช่วยคัดแยกขยะปนเปื้อน มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม และเผชิญเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที 

 

 

 

นอกจากนี้ รศ.ดร.ศรชัย อินทะไชย  ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พื้นที่ภายในตัวอาคารเก็บของเสียจากห้องปฏิบัติการ ว่า  บริเวณภายในอาคารดังกล่าว จะประกอบด้วย ชั้นเหล็กสำหรับวางวัสดุปนเปื้อน และของเสียต่าง ๆ  ซึ่งจะมีป้ายกำกับอย่างชัดเจนเป็นระบบว่าเป็นของเสียประเภทใด นอกจากนี้มีการติดตั้งถังดับเพลิงเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน  มีตู้ปฐมพยาบาล  อ่างล้างมือ ถังขนาดใหญ่ใส่ถุงขยะสีดำสำหรับทิ้งขยะอันตราย และมีถังทรายกำจัดสารเคมีในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจากสารเคมี  มีการติดตั้งชุดอุปกรณ์ล้างตัว และอ่างล้างหน้าล้างตา พร้อมทั้งมีก๊อกน้ำสายยาวไว้ในพื้นที่ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยแก่การใช้งานของเจ้าหน้าที่  และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดเก็บของเสีย

...........................................

ภาพ : คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล
เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ

#SDGs  #ขยะปนเปื้อนสารเคมี  #การพัฒนาที่ยั่งยืน  #TSUพัทลุง #เรียนวิทย์ใกล้ชิดธรรมชาติ #SciDITSU #SciNEXT #มหาวิทยาลัยทักษิณ #คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล #TSUEnterToWin #Admission #TSU #DEK67 #TCAS67 #DEKTSU67 #เด็กทักษิณ67