มหาวิทยาลัยทักษิณ
THAKSIN UNIVERSITY
 

 

แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์
Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment: EBIT
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
ตัวชี้วัด 1.2 การมีส่วนร่วม
  EB2 (2) หน่วยงานมีการปฏิบัติตามมาตรการ กลไก หรือการวางระบบให้ภาคประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน   
 

 1.กระบวนการผลิตบัณฑิต

          มหาวิทยาลัยทักษิณได้ดำเนินการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด เพื่อให้ทุกหลักสูตรได้มาตรฐานตลอดการจัดการศึกษา โดยได้พัฒนาและผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร และให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ของบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นคนดี รับผิดชอบ รอบรู้ สู้งาน มีประสบการณ์เชิงปฏิบัติ และทักษะสากล เทิดค่าศิลปะและวัฒนธรรมและมหาวิทยาลัยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณพ.ศ.2558–2567 ซึ่งในกระบวนการบริหารหลักสูตรกำหนดให้ทุกหลักสูตรปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาของหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี และยังสามารถปรับปรุงหลักสูตรตามปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งภายในและภายนอก ซึ่งผลกระทบภายในอาจเกิดขึ้นได้จากผลการประเมินระดับหลักสูตร จำนวนนิสิตที่ลดลง ปัจจัยภายนอกอาจมาจากนโยบายระดับประเทศ ความทันสมัย การเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว การปรับปรุงหลักสูตรของมหาวิทยาลัยจะมีขั้นตอนของการพิจารณาโครงการขออนุมัติปรับปรุงหลักสูตรของแต่ละหลักสูตร ในประเด็นผลการประเมินย้อนหลัง ประสิทธิผลของหลักสูตรย้อนหลัง และให้เสนอแผนการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร กรณีหลักสูตรมีผลการประเมินในปีการศึกษาที่ผ่านมาต่ำกว่า 3.01 หากพิจารณาโครงการแล้วเห็นว่าอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงการ ยุบรวมหลักสูตร เปลี่ยนชื่อหลักสูตร จะดำเนินการนัดประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่ดีร่วมกัน และอนุมัติงบประมาณสนับสนุนการปรับปรุงหลักสูตรตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ นำไปจัดทำ ร่าง รายละเอียดรายวิชา (มคอ.2) ตามแนวปฏิบัติการเสนอขออนุมัติหลักสูตหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อเสนอขออนุมัติที่สภามหาวิทยาลัยตามลำดับส่งหลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว เสนอไปยังคณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบส่วนหลักสูตรที่มีองค์กรวิชาชีพกำกับก็จะดำเนินการตามขั้นตอนขององค์กรวิชาชีพนั้น ๆ

           การกำกับมาตรฐานหลักสูตรของมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี/ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับ ติดตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยทักษิณ ให้มีมาตรฐานตลอดระยะเวลาการจัดการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยทักษิณมีหลักสูตรที่เปิดสอน จำนวน 95 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี จำนวน 60 หลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต จำนวน 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท จำนวน 27 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก จำนวน 6 หลักสูตร โดยมหาวิทยาลัยดำเนินการรับนิสิตด้วยการกำหนดแผนรับนิสิต ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาแผนรับนิสิตของมหาวิทยาลัย หลักสูตรที่เปิดรับนิสิต ต้องเป็นหลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติให้เปิดสอนและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีที่เป็นหลักสูตรใหม่จะต้องได้รับการอนุมัติและผ่านขั้นตอนการรับรอง หรือได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรณีเป็นหลักสูตรเก่า ต้องตรวจสอบสถานะหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ซึ่งจะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบ TQF ซึ่งกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครและเกณฑ์การสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิต การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ตาม มคอ.2 ของหลักสูตร สอดคล้องกับธรรมชาติของแต่ละสาขาวิชา ความเหมาะสมกับหลักสูตรและสอดคล้องกับระดับการศึกษา โดยหลักสูตรสามารถกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละหลักสูตร กำหนดเกณฑ์ เงื่อนไข องค์ประกอบที่ใช้พิจารณาคัดเลือก รวมถึงวิธีพิจารณาคัดเลือก เช่น ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)  คะแนนสอบข้อเขียน คะแนนจากการสอบสัมภาษณ์ หรือข้อมูลความสามารถอื่น ๆ ของผู้สมัคร เช่น จากการสอบปฏิบัติความสามารถทางดนตรี ทางกีฬา เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552 หมวดที่ 3 การรับเข้าเป็นนิสิต ข้อ 10 คุณวุฒิและคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนิสิต และข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2552 หมวดที่ 4 การรับเข้าเป็นนิสิตและสภาพนิสิต ข้อ 16 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

จากที่กล่าวมาข้างต้น มีกระบวนการดำเนินงานพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร และการรับนิสิต ดังนี้

1.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรโดยการสะท้อนข้อมูลความต้องการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระองค์ความรู้ หรือทิศทางการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการ ประกอบกับการสำรวจข้อมูลจากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา การสำรวจความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตของมหาวิทยาลัย

(เอกสารแนบ : ภาพรวมนายจ้างระดับมหาวิทยาลัย เอกสารหมายเลข1 ประกอบข้อคำถามEB2(2)   และ สรุปจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม เอกสารหมายเลข 2  ประกอบข้อคำถามEB2(2) )

2.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรโดยประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาร่วมเป็นคณะกรรมการ (ตัวอย่าง : มคอ.2 ศป.บ.ศิลปะการแสดง เอกสารหมายเลข 3  ประกอบข้อคำถาม EB2(2)  , คำสั่งแต่งตั้งกรรมการปรับปรุงหลักสูตร ศป.บ.ศิลปะการแสดง เอกสารหมายเลข 4  ประกอบข้อคำถาม EB2(2) )

3.วิพากษ์หลักสูตรโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น (ตัวอย่าง : แบบเสนอหลักสูตร ศป.บ.ศิลปะการแสดง เอกสารหมายเลข 5  ประกอบข้อคำถาม EB2(2) )

4. เสนอหลักสูตรเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง ก่อนเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อให้ความเห็นชอบหลักสูตร  (ตัวอย่าง : แบบเสนอหลักสูตร ศป.บ.ศิลปะการแสดง เอกสารหมายเลข 5  ประกอบข้อคำถาม EB2(2))

5.ผู้รับบริการสามารถตรวจสอบสถานะหลักสูตรผ่านเว็บไซต์ฝ่ายวิชาการงานบริหารหลักสูตร https://www.academic.tsu.ac.th/page_detial_menu.php?idm=4&mid=441

โดยมีการรายงานผลการดำเนินงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านที่ประชุมคณบดี ผู้อำนวยการ และผู้บริหารระดับสูงเป็นประจำทุกเดือนเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

http://www2.tsu.ac.th/org/capr/page_detial_menu.php?idm=4&mid=329

6. ประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้แล้วเสร็จตามช่วงเวลาที่กำหนด รวมถึงให้มีการดำเนินงานของหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตลอดระยะเวลา

การจัดการเรียนการสอน  (ตัวอย่าง : หนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงานมาตรฐานหลักสูตรตามองค์ประกอบที่ 1 , หนังสือเชิญประชุมหารือปรับปรุงและดำเนินการหลักสูตรปี 2560 เอกสารหมายเลข 6  ประกอบข้อคำถาม EB2(2), หนังสือเชิญประชุมแนวทางการดำเนินงานปรับปรุงหลักสูตรพร้อมใช้ปี 2561-2562)

7. ประเมินและตรวจสอบการดำเนินงานของหลักสูตรด้วยความเป็นธรรม ตามเกณฑ์
ที่กำหนด (
AUN QA) โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร
ซึ่งแต่งตั้งโดยมหาวิทยาลัย

https://www.qa.tsu.ac.th/page_detial_menu.php?idm=5&mid=397
และมีการติดตามผลการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นรายไตรมาศ ผ่านระบบ e-SAR

http://esar.tsu.ac.th/control/login.jsp

8.รายงานผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรผ่านระบบ CHE QA Online เพื่อเสนอ สกอ. รับทราบ http://www.cheqa.mua.go.th/

9. จัดทำแผนการรับนิสิตโดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา และสภาวะการณ์ในปัจจุบัน โดยการมีส่วนร่วมของส่วนงานวิชาการผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการระดับมหาวิทยาลัย http://www2.tsu.ac.th/org/student/main/files_menu/1917101717201717PR-TSU-61.pdf
เอกสารหมายเลข 7  ประกอบข้อคำถาม EB2(2)

10. จัดทำประกาศมหาวิทยาลัยทักษิณ เรื่อง การรับนิสิต ปีการศึกษา 2561 ตามโครงการที่ระบุไว้ในแผนการรับนิสิต
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www2.tsu.ac.th/org/student/page.php?idm=8&mid=418

ตัวอย่างประกาศรับสมัคร : ประกาศรับโครงการทักษะพิเศษ เอกสารหมายเลข 8  ประกอบข้อคำถาม EB2(2) , ประกาศรับหลักสูตรพยาบาล เอกสารหมายเลข 9  ประกอบข้อคำถาม EB2(2) , ประกาศรับโครงการโควตาภูมิภาค เอกสารหมายเลข 10  ประกอบข้อคำถาม EB2(2)

11. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกนิสิตในโครงการรับนิสิตทุกโครงการ ซึ่งมี
ส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อตรวจสอบการพิจารณาให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่ได้ประกาศไว้และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเพื่อป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่รับผิดชอบ
(ตัวอย่าง : คำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบคัดเลือก โครงการทักษะพิเศษ
เอกสารหมายเลข 11  ประกอบข้อคำถาม EB2(2), คำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบคัดเลือก โครงการ14 จังหวัด เอกสารหมายเลข 12  ประกอบข้อคำถาม EB2(2))

12. เผยแพร่ประกาศรับสมัครนิสิตในแต่ละโครงการให้โรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้ที่สนใจเข้าศึกษาทราบผ่านเว็บไซต์

http://admission.tsu.ac.th

โดยผู้รับบริการสามารถดูรายละเอียด ขั้นตอน และระยะเวลาในการรับนิสิตในแต่ละโครงการได้จากประกาศดังกล่าว

13. ดำเนินการคัดเลือกนิสิตตามกระบวนการรับนิสิตที่ระบุไว้ในแต่ละโครงการ โดยการพิจารณาจากคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง และประกาศผลการคัดเลือกนิสิตผ่านเว็บไซต์

http://admission.tsu.ac.th

14. จัดทำรายงานข้อมูลผลการรับนิสิตในแต่ละรอบเสนอเข้าที่ประชุมคณบดี ผู้อำนวยการ และผู้บริหารระดับสูงเพื่อทราบและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงาน

http://www2.tsu.ac.th/org/capr/UserFiles/610327-1.pdf

เมื่อดำเนินการครบรอบปีการศึกษาต้องจัดทำเอกสารสรุปในภาพรวมเพื่อรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในต่อไป https://esar.tsu.ac.th/control/login.jsp

2.กระบวนการวิจัย
ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมการดำเนินงานด้านการวิจัยในแต่ละกระบวนการ ดังนี้
1. การกำหนดนโยบายด้านการวิจัย  ภายใต้แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2558-2567  ได้ถอดและยกร่างยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2560-2569 ให้สอดคล้องกัน และมีการประชาพิจารณ์ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยฯ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย ที่มีทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชน สำหรับข้อเสนอแนะได้นำมาปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ฯ และกำหนดกรอบประเด็นการวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อจัดสรรทุนวิจัยให้สอดรับกับความต้องการของชุมชน ประกอบด้วย พลังงานทางเลือก สุขภาวะและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมเกษตร สังคมและวัฒนธรรมภาคใต้ และการศึกษาและการเรียนรู้
2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย  
   มีการจัดวิจัยสัญจรไปรับฟังข้อเสนอแนะจากนักวิจัย นิสิตถึงความต้องการของหัวข้อการพัฒนาศักยภาพ หรือความต้องการของการปรับปรุงระบบบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้นำข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงกระบวนการทำงาน จัดพัฒนาศักยภาพในกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการ เช่น เกิดการอบรมนักวิจัยหน้าใหม่ (ลูกไก่) โดยใช้ศักยภาพจากนักวิจัยรุ่นอาวุโสที่มีประสบการณ์และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แล้ว (แม่ไก่) มาอบรมและสอนรุ่นน้อง ฯลฯ 
3. การจัดสรรทุนวิจัย
    สถาบันวิจัยและพัฒนา มีระบบและกลไกการจัดสรรทุนวิจัยที่โปร่งใส มีระบบการจัดสรรทุนวิจัยหลัก 3 กลุ่ม โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมการดำเนินงานด้านการวิจัยในแต่ละกระบวนการ ดังนี้
  กลุ่มที่ 1 การจัดสรรทุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผนดิน มีระบบ และกลไกการจัดสรรทุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผนดิน เอกสารหมายเลข 17 ประกอบคำถามข้อ EB2(2)โดยมีนักวิจัยยื่นข้อเสนอ หรือโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่องทุกปี
   กลุ่มที่ 2 การจัดสรรทุนวิจัยจากเงินรายได้กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ มีระบบ และกลไกการจัดสรรทุนวิจัย เอกสารหมายเลข 18 ประกอบคำถาม ข้อ EB2(2)โดยจัดสรรทุนวิจัยให้กับโครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยอาจารย์ นิสิต และจัดสรรทุนให้กับหน่วยวิจัย ศูนย์วิจัยอย่างต่อเนื่องทุกปี
   กลุ่มที่ 3 การจัดสรรทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ (ABC) ภายใต้โครงการ "การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาคลองป่าพะยอม-คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง" ซึ่งรับทุนในรูป Block grant (จาก สกว. ร่วมกับกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ) เน้นการนำความรู้ ข้อมูล มาพัฒนาชุมชนโดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ร่วมมือกันแก้ปัญหาโดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด เป็นการพัฒนาบนฐานของการใช้ความรู้ที่มีลักษณะเป็นพลวัต เอกสารหมายเลข 19 ประกอบคำถามข้อ EB2(2)และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัย เอกสารหมายเลข 20 ประกอบคำถามข้อ EB2(2) ดังนี้
    1. ตั้งแต่เริ่มดำเนินการระยะที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2558 ระยะที่ 2-3 ปี 2559-2560 สำหรับระยะที่ 3 ปี 2560 ขยายเวลาดำเนินการวิจัยจนถึงปี 2561 ภายใต้โครงการวิจัยชุดใหญ่ ได้มีกิจกรรมการทบทวนกรอบแนวคิดการวิจัย (Research Framework) มีผู้เข้าร่วมที่สำคัญ เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิของ สกว. (พี่เลี้ยงของทุนนวัตกรรมประจำมหาวิทยาลัย) นักวิจัยพื้นที่ต่างๆ ตัวแทนจากองค์กรภาครัฐ เอกชน และนักวิจัยของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมเพื่อพัฒนางานวิจัย
   2. นักวิจัยของมหาวิทยาลัย นักวิจัยชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน (เอกสารอ้างอิง 5) มาร่วมกันทบทวนกรอบการวิจัย สามารถค้นหาเป็นปัญหา ภัยคุกคาม หรือความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำมาจัดลำดับ 3 ด้าน คือ 1) การท่องเที่ยว 2) การเพิ่มประสิทธิภาพเกษตรฐานราก และ 3) การจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และได้นำไปจัดการเพื่อจัดสรรทุนวิจัยจากโครงการวิจัยในปีที่ 3 เอกสารหมายเลข 21 ประกอบคำถามEB2(2)
4. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
    หลังจากดำเนินการวิจัยแล้ว จะมีการถอดบทเรียนและสังเคราะห์ข้อมูล จากโครงการวิจัย เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คนลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา คลองป่าพะยอม - คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ระยะที่ 2
โดยดำเนินการร่วมกันทั้งนักวิจัยมหาวิทยาลัย นักวิจัยชุมชน ปราชญ์ชุมชน ภาครัฐ เอกชน เพื่อสังเคราะห์นวัตกรรมที่เกิดขึ้น ที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การขับเคลื่อนรูปแบบการบูรณาการจิตสำนึกรักษ์น้ำสู่สถานศึกษา ที่นำไปใช้กับโรงเรียนบ้านเขาปู่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง และฝายมีชีวิต เพื่อการรักษาสมดุลย์ของน้ำ อาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน ฯลฯ  เอกสารหมายเลข 22 ประกอบคำถามEB2(2)
   
3.กระบวนการบริการวิชาการ
1.มหาวิทยาลัยโดยคณะกรรมการอำนวยการบริการวิชาการ (เอกสารแนบ : คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการบริการวิชาการ ม.ทักษิณ) เอกสารหมายเลข 23 ประกอบข้อคำถามEB2(2)  กำหนดนโยบาย และแนวทางการจัดสรรงบประมาณโครงการบริการวิชาการ และกำหนดชุมชนเป้าหมายโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคม 
2.จัดทำประกาศมหาวิทยาลัยทักษิณ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับทุนอุดหนุนการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการฯ (เอกสารแนบ : คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการบริการวิชาการ ม.ทักษิณ , คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานชุดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ ม.ทักษิณ)
เอกสารหมายเลข 24 ประกอบข้อคำถามEB2(2) โดยพิจารณาข้อมูลจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ประกอบไปด้วย   
        2.1 ประกาศมหาวิทยาลัยทักษิณ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับทุนอุดหนุนการบริการวิชาการ “โครงการบริการวิชาการแบบมุ่งเป้า” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561(เอกสารแนบ : ประกาศโครงการบริการวิชาการแบบมุ่งเป้า พ.ศ. 2561
)เอกสารหมายเลข 25  ประกอบข้อคำถาม EB2(2)  
       2.2  ประกาศมหาวิทยาลัยทักษิณ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับทุนอุดหนุนการบริการวิชาการ “โครงการบริการวิชาการเพื่อสังคม”ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (เอกสารแนบ : ประกาศโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคม พ.ศ. 2561)
  เอกสารหมายเลข 26 ประกอบข้อคำถาม EB2(2))   
              2.2.1 จัดประชุมรับฟังความต้องการของประชาชนในชุมชนเป้าหมาย
เอกสารแนบ : การนำชุมชนศึกษาดูงาน 
 เอกสารหมายเลข 27 ประกอบข้อคำถาม EB2(2)
การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เอกสารหมายเลข 28 ประกอบข้อคำถามEB2(2)
https://www.facebook.com/permalink.phpstory_fbid=684205301969229&id=100011392975773  
              2.2.2  จัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคมโดยการมีส่วนร่วมจากส่วนงานภายในและชุมชนเป้าหมาย (เอกสารแนบ : โครงการบริการวิชาการเพื่อสังคม พ.ศ.2561) เอกสารหมายเลข 29 ประกอบข้อคำถาม EB2(2)
     2.3 ประกาศมหาวิทยาลัยทักษิณ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับทุนอุดหนุนการบริการวิชาการ “โครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างสรรค์สังคม”ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เอกสารแนบ : ประกาศโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างสรรค์สังคม พ.ศ. 2561
เอกสารหมายเลข 30  ประกอบข้อคำถาม EB2(2) ข้อเสนอโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างสรรค์สังคม พ.ศ. 2561
3.ติดตามผลการดำเนินงานบริการวิชาการรายไตรมาส ผ่านระบบสารสนเทศบริการวิชาการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ http://www.clinictech.most.go.th/online/tsu/tsu.asp
4.จัดทำรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานบริการวิชาการเสนอเข้าที่ประชุมระดับมหาวิทยาลัยเพื่อทราบและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงาน เมื่อดำเนินการครบรอบปีการศึกษาต้องจัดทำเอกสารสรุปในภาพรวมเพื่อรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในต่อไป  
https://esar.tsu.ac.th/control/login.jsp

4.กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

       การจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่ง วงเงินเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป กำหนดให้ส่วนงานที่ได้รับมอบอำนาจจากอธิการบดีแต่งตั้งภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสังเกตการณ์ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ อย่างน้อย 1 คนต่อการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละครั้ง 

      โดยกำหนดให้การแต่งตั้งภาคประชาชนที่เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างและไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการนั้น ๆ เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ