มหาวิทยาลัยทักษิณ
THAKSIN UNIVERSITY
 

 

แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์
Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment: EBIT
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
ตัวชี้วัดที่ 2.2 การปฏิบัติงานตามหน้าที่
  EB5 หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการบริหารผลการปฏิบัติงานและการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำ   
 

          มหาวิทยาลัยกำหนดให้การประเมินผลการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย เป็นการประเมินเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ศักยภาพของตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมหาวิทยาลัย และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งจะเป็นการประเมินโดยคณะบุคคล และใช้กลไกการสื่อสารสองทางระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมินโดยยึดหลัก “ยุติธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดของมหาวิทยาลัย”           

องค์ประกอบการประเมิน 3 องค์ประกอบ 

  (1) องค์ประกอบที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ของงาน สัดส่วนร้อยละ 70 เป็นการประเมินทั้งปริมาณและคุณภาพของงานตามตำแหน่งตามตัวชี้วัดและระดับค่าเป้าหมายในข้อตกลงร่วมก่อนการปฏิบัติงาน  โดยอาจประกอบด้วยงานหลัก ซึ่งเป็นภาระงานตามตำแหน่งหน้าที่ และ/หรืองานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะ หรืองานในเชิงพัฒนา 

   (2) องค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะและพฤติกรรมการปฏิบัติงาน สัดส่วนร้อยละ 20 – 30 เป็นการประเมินสมรรถนะและพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามค่านิยมหลักมหาวิทยาลัยทักษิณ (TSU Core Values) ซึ่งประกอบด้วย คารวะ ปัญญา สามัคคี มุ่งผลลัพธ์ที่ดี มีความคุ้มค่า นำพาสังคม        

   (3) องค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาส่วนงานหรือหน่วยงาน สัดส่วนร้อยละ 0 – 10 เป็นการประเมินสมรรถนะหรือพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ส่วนงานหรือหน่วยงานอาจกำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ส่วนงานหรือหน่วยงานบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาส่วนงานหรือหน่วยงาน  ระดับผลการประเมิน มี 5 ระดับ ประกอบด้วย

  (1) ระดับดีเด่น     คะแนนรวม  ร้อยละ 90 – 100

  (2) ระดับดีมาก    คะแนนรวม  ร้อยละ 80 – 79.99  

  (3) ระดับดี         คะแนนรวม  ร้อยละ 70 – 79.99

  (4) ระดับพอใช้    คะแนนรวม  ร้อยละ 60 – 69.99   

 (5) ระดับต้องปรับปรุง   คะแนนรวม  ต่ำกว่าร้อยละ (ไม่มีสิทธิได้รับการเพิ่มเงินเดือน กรณีพนักงานมหาวิทยาลัย และการจ้างต่อในปีงบประมาณถัดไป กรณีลูกจ้างของมหาวิทยาลัย)

การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานประจำ ประกอบด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีเพื่อเพิ่มเงินเดือน และการประเมินเพื่อพิจารณายกเลิกสัญญาหรือเลิกจ้างการประเมินเพื่อพิจารณายกเลิกสัญญาหรือเลิกจ้างกระทำเมื่อพนักงานมหาวิทยาลัยได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่ ก.บ.ม. กำหนดติดต่อกันสองปี หรือเมื่อมีเหตุอันเชื่อได้ว่าการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยมีความบกพร่องอย่างร้ายแรง หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อมหาวิทยาลัย หรือผิดเงื่อนไขของการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง โดยปรากฏว่าพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ใดมีผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด อยู่ในระดับต้องปรับปรุง และไม่ได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือน มหาวิทยาลัยจะดำเนินการ ดังนี้

         (1) มหาวิทยาลัยแจ้งให้พนักงานมหาวิทยาลัยทราบเกี่ยวกับผลการประเมินพร้อมทั้งกำหนดให้จัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงตนเอง และให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน ให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้พนักงานมหาวิทยาลัยทำข้อตกลงในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง โดยกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในระดับอันเป็นที่พอใจของส่วนงานหรือหน่วยงานให้ชัดเจน ให้มีระยะเวลาพัฒนาปรับปรุงตนเองไม่เกิน 12 เดือน หรือไม่เกิน 1 รอบการประเมิน โดยผู้บังคับบัญชากำกับดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
     (2) เมื่อครบกำหนดการพัฒนาปรับปรุงตนเองของพนักงานมหาวิทยาลัยให้คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำของส่วนงานหรือหน่วยงานประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อตกลงในการพัฒนาปรับปรุงตนเองแล้วรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่ออธิการบดี ภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดการพัฒนาปรับปรุงตนเอง
      (3) หากปรากฏว่าพนักงานมหาวิทยาลัยมีผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี ให้อธิการบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลประจำมหาวิทยาลัย สั่งให้พนักงานมหาวิทยาลัยออกจากงาน ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือวันที่ถือว่าทราบคำสั่งให้ออกจากงานหรือเลิกจ้าง

หลักฐาน คือ

1.ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วย การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2557

เอกสารหมายเลข 1 ประกอบข้อคำถามEB5

2.ประกาศคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลประจำมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของพนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2558
เอกสารหมายเลข 2 ประกอบข้อคำถามEB5

3.ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์การให้พนักงานมหาวิทยาลัยออกจากงาน กรณีไม่สามารถปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ พ.ศ. 2559
เอกสารหมายเลข 3 ประกอบข้อคำถามEB5