คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ทักษิณ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่เครือข่ายนานาชาติบนฐาน การเรียนรู้ PBL (Problem Based Learning Project) พัฒนานิสิตสู่ความเป็นสากล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ทักษิณ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่เครือข่ายนานาชาติบนฐาน การเรียนรู้ PBL (Problem Based Learning Project) พัฒนานิสิตสู่ความเป็นสากล

7 มี.ค. 67 270

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่เครือข่ายนานาชาติบนฐานการเรียนรู้ PBL (Problem Based Learning Project) ระหว่างวันที่ 5 - 16 มีนาคม 2567 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนิสิตจาก Shibaura Institute of Technology, Tokyo ประเทศญี่ปุ่น ไต้แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ภาษาและวัฒนธรรม รวมทั้งได้เรียนรู้ และฝึกทักษะด้านการพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยียาง และด้านอื่น ๆ โดยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ได้มีพิธีต้อนรับและเปิดงาน มีรองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานต้อนรับและเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.จตุพร แก้วอ่อน คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมต้อนรับ

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม  กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่เครือข่ายนานาชาติบนฐานการเรียนรู้ PBL (Problem Based Learning Project) เป็นโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้นโยบาย Glocalization ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการทำงานระหว่างงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ กับสถาบันวิจัยและนวัตกรรม และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับเป็นเจ้าภาพดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่เครือข่ายนานาชาติบนฐานการเรียนรู้ gPBL (Global Problem Based  Learning Project)  โดยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยและนวัตกรรม และฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ได้พัฒนาความร่วมมือระดับนานาชาติ ร่วมกับสมาชิกเครือข่าย World Technology Universities Network (WTUN) ซึ่งมีเป้าหมายการขับเคลื่อนเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมองและบทบาทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรอบโลกต่อความท้าทายในยุค New Normal รวมถึง ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงฉับพลันของโลก และการสร้างมูลค่าและผลกระทบด้วยนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ โดยหนึ่งในมหาวิทยาลัยสังกัดเครือข่าย Shibaura Institute of Technology, Tokyo ประเทศญี่ปุ่น ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้านนวัตกรรมยาง ภายใต้การเรียนรู้จากโครงงาน (Project-based Learning) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประโยชน์และความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน ที่มีโจทย์มาจากปัญหาที่ ชุมชนหรือเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้ลงมือปฏิบัติจริงและคิดวิธีการเพื่อแก้ปัญหา รวมทั้งมีการนำเสนอผลการดำเนินงานที่นิสิตจะต้องฝึกฝนการนำเสนอ (Practice presentation) การอภิปราย (Discussion) ให้เหตุผลเชิงวิชาการบนฐานองค์ความรู้ นิสิตเหล่านี้จะเกิดการเรียนรู้เชิงระบบ อันนำไปสู่การใช้งานจริงในการทำงานและการดำเนินชีวิต รวมทั้งโครงการนี้ได้มีการส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์  ประกอบกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของนิสิต จึงจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่เครือข่ายนานาชาติบนฐานการเรียนรู้ gPBL (Global Problem Based Learning Project) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประโยชน์และความสำคัญอย่างยิ่ง

 

 

 

นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.จตุพร แก้วอ่อน คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในฐานะเป็นเจ้าภาพดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่เครือข่ายนานาชาติบนฐานการเรียนรู้ gPBL (Global Problem Based  Learning Project)  ประกอบกับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน ที่มีโจทย์มาจากปัญหาที่ ชุมชนหรือเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้ลงมือปฏิบัติจริงและคิดวิธีการเพื่อแก้ปัญหา รวมทั้งมีการ นำเสนอผลการดำเนินงานที่นิสิตจะต้องฝึกฝนการนำเสนอ (Practice presentation) การอภิปราย (Discussion) ให้เหตุผลเชิงวิชาการบนฐานองค์ความรู้ นิสิตเหล่านี้จะเกิดการเรียนรู้เชิงระบบอันนำไปสู่การ ใช้งานจริงในการทำงานและการดำเนินชีวิต รวมทั้งโครงการนี้ได้มีการส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์  ประกอบกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของนิสิต จึงจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่เครือข่ายนานาชาติบนฐานการเรียนรู้ gPBL (Global Problem Based Learning Project) สำหรับวัตถุประสงค์ ของการจัดโครงการฯ  เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษของนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้นิสิตได้แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ภาษาและวัฒนธรรมกับนิสิตที่มาจากมหาวิทยาลัย Shibaura Institute of Technology, Tokyo ประเทศญี่ปุ่น  ตลอดจนเพื่อให้นิสิตจาก Shibaura Institute of Technology, Tokyo ประเทศญี่ปุ่นได้เรียนฝึกทักษะด้านการพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยียาง รวมทั้งพัฒนาส่งเสริมนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้ก้าวไปสู่บัณฑิตที่พึงประสงค์ และยังสร้างเครือข่ายนักวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณและมหาวิทยาลัย Shibaura Institute Technology, Tokyo ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกิจกรรมในวันที่ 6 มีการแบ่งกลุ่มสัมพันธ์ และแนะนำอาจารย์ และพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม กิจกรรมละลายพฤติกรรม โดยคุณอมารวดี สงนุ้ย (วิทยากรจากภายนอก) การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยและการสื่อสารสาธิตการรำมวยไทย โดย อาจารย์วิทยา เหมพันธ์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ และกิจกรรมงานเลี้ยงต้อนรับ ณ ลานชั้น 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมรับชมการแสดงจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ และตนตรี folk song และกิจกรรมในวันที่ 7 มีนาคม 2567 มีการนำผู้เข้าร่วมโครงการลงพื้นที่ฟาร์มไก่ไข่อารมณ์ดี ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง  เยี่ยมชมการทำงาน เลน้อยคราฟ และชมการสาธิตการสานกระฉูด ชื่นชมภูมินิเวศ ณ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน และออกเดินทางไปยัง ศรีนาคาโมเตล อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง เพื่อเรียนรู้การย้อมผ้า พร้อมรับชมการสาธิตย้อมผ้า / การทตลองย้อมผ้า และนิสิตที่เข้าร่วมรับมอบผ้าย้อมเป็นของที่ระลึก ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน  50 คน 

 

  

.........................

เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ