บัณฑิตวิทยาลัย ม.ทักษิณ จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะคณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา  หัวข้อ  เทคนิคและการใช้ CHAT GPT ช่วยในการสร้างผลงานทางวิชาการและวิจัย

บัณฑิตวิทยาลัย ม.ทักษิณ จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะคณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา หัวข้อ เทคนิคและการใช้ CHAT GPT ช่วยในการสร้างผลงานทางวิชาการและวิจัย

7 ก.พ. 67 7050

บัณฑิตวิทยาลัย ม.ทักษิณ จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะคณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีการศึกษา 2566 หัวข้อ “เทคนิคและการใช้ CHAT GPT ช่วยในการสร้างผลงานทางวิชาการและวิจัย”

วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2567) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะคณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีการศึกษา 2566 หัวข้อ “เทคนิคและการใช้ CHAT GPT ช่วยในการสร้างผลงานทางวิชาการและวิจัย” โดยมี ผศ.ดร.ประสงค์ เกษราธิคุณ  คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดการอบรม และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน CHAT GPT  โดยใช้การอบรมออนไลน์ Zoom Meeting  ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมกว่า 250 คน

   

สำหรับ Chat GPT  เป็นนวัตกรรมล่าสุดจาก Open AI ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft  เป็นการใช้ AI ในการประมวลผลทางด้านภาษาให้มีความเชี่ยวชาญระดับสูง มีความสามารถโต้ตอบคำถามทุกเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังสามารถสร้างบทสนทนา แปลภาษา ประมวลผลทางด้านภาษา เขียนบทความคุณภาพ ร่างสุนทรพจน์ บทพูดพิธีกร หรือแม้แต่การแต่งเพลงรวมถึงการสร้างทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ สำหรับประเด็นคำถามที่ว่า ควรใช้ Chat GPT ช่วยงานวิจัยหรือไม่? รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล  ได้ให้ข้อมูลว่า ความสามารถของ AI อย่าง Chat GPT ในการช่วยทำงานวิจัยตั้งแต่ทบทวนวรรณกรรมไปจนถึงการวางแผนวิจัยให้ สามารถช่วยให้นักวิจัยที่ยังไม่มีประสบการณ์มากเหมือนมีพี่เลี้ยงช่วยให้คำแนะนำต่าง ๆ การมี Chat GPT ทำให้เหมือนมีพี่เลี้ยงนักวิจัยที่ช่วยอ่านและสรุปงานให้รอบแรก แต่ผู้วิจัยเองก็ต้องไปอ่านบทความนั้นต่อเพื่อทำความเข้าใจและที่สำคัญคือยืนยันด้วยตัวเองว่าสิ่งที่ GPT สรุปมาให้นั้นถูกต้องครบถ้วนจริงหรือไม่  และในการวิจัยซึ่งต้องเริ่มต้นจากการทบทวนงานวิจัยในอดีต เราจึงสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการวิจัยนี้ได้

นอกจากนี้การใช้ Chat GPT ในการทบทวนวรรณกรรม หรือการหาหัวข้อวิจัย และ การออกแบบงานวิจัย สามารถศึกษาวิจัยในหัวข้อหรือประเด็นที่น่าสนใจ ในกรณีที่เราใช้ Chat GPT ช่วยอ่านและสรุปงานให้ เราอาจขอให้ Chat GPT ช่วยดูประเด็นที่น่าสนใจเพื่อจะได้ศึกษาต่อจากงานเหล่านี้ก็ได้ โดยการแจกแจงหัวข้อที่สามารถศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อได้โดยอิงจากข้อมูลบทความที่ได้อ่านมานั้น สิ่งที่ได้กล่าวมานี้ล้วนเป็นความสามารถของ Chat GPT ที่จะมาช่วยเหลือต่อการทำงานวิจัยของเรา แต่เหนือสิ่งอื่นใดบทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ควรมาจากการค้นคว้าและการเขียนจากเจ้าของผลงาน เพื่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และการไม่ทำผิดจริยธรรมด้านการวิจัย

.................................

เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ

#CHATGPT  #บัณฑิตวิทยาลัย  #AI   #Thesis  #งานวิจัย   #บัณฑิตศึกษา  #มหาวิทยาลัยทักษิณ  #TSUNEWS  #WeTSU