ม.ทักษิณ จัดงาน SCiUS Forum ครั้งที่ 12 นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์จากห้องเรียน วมว.

ม.ทักษิณ จัดงาน SCiUS Forum ครั้งที่ 12 นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์จากห้องเรียน วมว.

26 ส.ค. 65 1675
     ร่วมเปิดงาน SCiUS Forum ครั้งที่ 12 กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนในโครงการ วมว. ได้ร่วมนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
     วันที่ 26 สิงหาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา พันธ์ฤทธิ์ดำ รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐาน พัทลุง และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ นายโชติ จิตขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม คณะผู้บริหารและบุคลากรโครงการ วมว. - ม.ทักษิณ ร่วมต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะ ในโอกาสเดินทางมาเป็นประธานเปิดกิจกรรม  SCiUS Forum ครั้งที่ 12 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง


     

     ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมวิชาการเกี่ยวกับการนำเสนอการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โครงการ วมว. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในชื่อว่า “SCIUS Forum” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในโครงการ วมว. ได้ร่วมนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและประสบการณ์กับเพื่อนๆ ต่างโรงเรียน รวมทั้งเป็นการ พัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากการให้ข้อเสนอแนะของ อาจารย์ในการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ ในปีงบประมาณ 2565 นี้ เป็นการจัดกิจกรรม SCIUS Forum ครั้งที่ 12 มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (รุ่นที่ 13) จำนวน 874คน จาก ห้องเรียนวิทยาศาสตร์โครงการ วมว. ของมหาวิทยาลัย โรงเรียน 19 แห่ง (30 ห้องเรียน) เข้าร่วมกิจกรรม


ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ
     กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ มีจำนวนโครงงานที่เข้าร่วม 379 โครงงาน แบ่งเป็นการนำเสนอแบบ Oral presentation 305 โครงงาน และ Poster presentation 74 โครงงาน แบ่งเป็น 7 สาขา ได้แก่ เคมี ชีววิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและ นิเวศวิทยา คณิตศาสตร์และสถิติ เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ และสะเต็มและนวัตกรรม
     กิจกรรมที่ 2 คือ กิจกรรม Poster popular Vote เป็นการนำเสนอผลงานผ่านการ จัดทำโปสเตอร์ทั้งในรูปแบบแผ่นโปสเตอร์ ณ บอร์ดนำเสนอผลงานและ E-poster ซึ่งเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ผลงานในรูปแบบการรวมเล่มเป็น E-book เพื่อให้นักเรียนสามารถโหวต โครงงานที่ชื่นชอบได้โดยการสแกน QR Code โครงงานที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด 2 อันดับ แรกของแต่ละสาขา จะได้รับรางวัลพิเศษ ซึ่งจะมีโครงงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 14 โครงงาน
     กิจกรรมที่ 3 คือ กิจกรรมพิเศษ idea pitching มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน เรียนรู้หลักการนำเสนอผลงานและพัฒนาทักษะการนำเสนอในที่สาธารณะอย่างกระชับและ ตรงประเด็น ทำความเข้าใจและเห็นความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ของตนเอง พัฒนา ทักษะการพูดและรู้จักการประยุกต์ใช้สื่อนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ กิจกรรมแบ่งออกเป็นรอบ คัดเลือก ที่จะคัดเลือก 10 ทีมไปนำเสนอในรอบตัดสิน และรอบตัดสินแต่ละทีมมีเวลาในการ นำเสนอ 3 นาที และตอบข้อซักถาม 5 นาที



     กิจกรรมที่ 4 คือ การบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศ.ดร.สุรเดช หงส์อิง จากคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะมาบรรยายใน หัวข้อ “เด็กวิทย์กับเส้นทางชีวิตที่เลือกได้” ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์และแรง บันดาลใจในเส้นทางอาชีพสายวิทยาศาสตร์ที่สามารถเลือกเดินทางได้หลากหลายเส้นทาง และ เห็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
     โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง