ม.ทักษิณ ลงนาม(MOU)ความร่วมมือทางวิชาการกับภาคีภาคเอกชน ร่วมพัฒนายกระดับนวัตกรรมสังคม

ม.ทักษิณ ลงนาม(MOU)ความร่วมมือทางวิชาการกับภาคีภาคเอกชน ร่วมพัฒนายกระดับนวัตกรรมสังคม

31 มี.ค. 66 1002

วันที่ 31 มีนาคม 2566 รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผศ.ดร.ธัญญา พันธ์ฤทธิ์ดำ รองอธิการบดีวิทยาเขตพัทลุง และ ผศ.ดร.นุกูล อินทระสังขา ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับภาคีภาคเอกชน ร่วมพัฒนายกระดับนวัตกรรมสังคมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ กับภาคเอกชน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท อิเมจิน ดีไซน์ จำกัด โดย นายลักษณ์ เตชะวันชัย (กรรมการผู้จัดการ) บริษัท ฟาร์มฟิตฟู้ด จำกัด โดย ดร.พุทธิวงศ์ เอื้อมหเจริญ (กรรมการผู้จัดการ) และบริษัท เคงโคโซได อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดย ดร.ชาติประชา สอนกลิ่น (กรรมการผู้จัดการ) 
ณ ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

     นอกจากนี้ยังมี อาจารย์ ดร.ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม อาจารย์ ดร.ธนวัฒน์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาเขตพัทลุง ผศ.ดร.นพมาศ ปักเข็ม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ดร.วัลลภา เชยบัวแก้ว คณบดีคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ผศ.ดร. สุรศักดิ์ คชภักดี คณบดีคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน รศ.ดร.จตุพร แก้วอ่อน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.รัทรดา เทพประดิษฐ์ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ พร้อมด้วยผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานลงนามในครั้งนี้ด้วย

     ซึ่งการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับภาคีภาคเอกชนในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมกันพัฒนายกระดับนวัตกรรมสังคมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ ในด้านการพัฒนามวยไทยเวิร์ส กับทางบริษัท อิเมจิน ดีไซน์ จำกัด ด้านการพัฒนาและยกระดับการใช้พื้นที่ให้เกิดมูลค่าและคุณค่า (Value Asset Creation, VAC) กับทางบริษัท ฟาร์มฟิตฟู้ด จำกัด และด้านการพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชคุณภาพสูงเพื่อการส่งเสริม Wellness กับบริษัท เคงโคโซได อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

     ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยทักษิณได้รับการประสานงานให้มีภาคเอกชนที่มีความสนใจในการช่วยร่วมพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมสังคมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ผ่านทางการยื่นของบประมาณสนับสนุนจาก บพข. โดยให้เป็นหน่วยงานกลางเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (Intermediary) โดยการส่งเสริมภาคเอกชนขนาด SMEs ที่มีฐานการผลิตในระบบห่วงโซ่อุปสงค์-อุปทาน (Value Demand/Supply Chain) ในพื้นที่ที่มีความต้องการบริการพัฒนานวัตกรรมผ่านกิจกรรมที่จะสามารถสร้างให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายแบบบูรณาการตั้งแต่ในระดับผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)  การพัฒนานวัตกรรมด้านกระบวนการ  (Process Innovation)  การพัฒนานวัตกรรมด้านการตลาด (Market Innovation)  และการพัฒนานวัตกรรมการบริหารองค์กร (Organization Innovation)